วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ



5.1 สรุปผลการฝึกประสบการณ์
การที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่บริษัท แอท ดรีม ฮอลิเดย์ จำกัด ตามหลักสูตรของทาง
มหาวิทยาลัย ในรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนในรายวิชานี้ต้องผ่านการฝึกประสบการวิชาชีพ เริ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพตั้งแต่วัน จันทร์ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และได้มีการนำความรู้จากที่ตนได้เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ รู้จักวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และได้ให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่เป็นบางครั้ง ได้ปฏิบัติงานจริง ๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นการฝึกงาน มันก็เหมือนเป็นการปฏิบัติงานจริง ทำให้เราได้ฝึกการใช้ชีวิตร่วมการทำงานรวมกับคนอื่น มีความสามัคคีกันในการทำงาน ให้ความเคราพต่อทุกคน รู้จักผู้คนในสังคมใหญ่ ทำให้รูระบบการทำงานของแต่ละองค์การ ทำให้เราสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้ ก่อนที่เราจะออกไปทำงานตามที่ตนต้องการ ทำให้เรามีประการณ์ในการทำงานไม่มากก็น้อย
ดังนั้นการฝึกประสบการณ์วิชชาชีพนั้นเราควรจะให้ความสำคัญมาก เพราะมันเป็นด้านหนึ่งที่ช่วยพัฒนาความสามารถของเราได้ ได้รู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค รู้ว่าความสามารถที่เราเรียนมามีประโยชน์ต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เมื่อเราจบไปจะได้นำไปใช้ในเวลาที่เราได้ทำงาน


5.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
5.2.1 ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
5.2.2 ได้พบปะผู้คนกล้าคิดและกล้าแสดงออก
5.2.3 ได้รู้จักการทำงานของระบบราชการมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
5.2.4 ทำให้เรามีความรู้ ความอดทน และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ
5.2.5 ได้รู้ถึงปัญหาของงานและแนวทางในการแก้ไข

5.3 สรุปปัญหาและอุปสรรคจาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ปัญหาจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
5.3.1 ปัญหาด้านการปฎิบัติงาน มาสายหรือเข้ามาทำงานช้าและออกไปข้างนอกเวลาทำงาน
5.3.2 พนักงานมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ทำให้เกิดความล่าช้าในเวลาทำงานในกรณีมีปัญหา
5.3.3 ทำงานซับซ้อน จุกจิก ทำให้สิ้นเปลื้องอุปกรณ์สำนังานโดยเปล่าประโยชน์
5.3.4 พนักงานมีความล่าช้า ต้องค่อยตามเรื่องทุกอย่าง

อุปสรรคจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
5.3.5 อุปสรรคเวลาทำงานเราต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท่านอื่นเราไม่รู้จักเจ้าหน้าที่ก็ต้องถามทำให้เสียเวลา
5.3.6 อุปสรรคด้านลายมือเจ้าหน้าที่เวลาเซ็นชื่อหรือร่างหนังสือ จึงทำให้การทำหนังสือล่าช้าเพราะอ่านลายมือไม่ออก
5.3.7 อุปสรรคในความล่าช้าในขั้นตอนการทำงาน เพราะมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนจึงทำงานให้งานล่าช้า
5.3.8 อุปสรรคด้านความรู้ในหน่วยงาน เพราะไม่รู้จักชื่อเจ้าหน้าที่ทำให้ตอบคำถามคนข้างนอกไม่ได้


5.4 ข้อเสนอแนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการทำสารนิพนธ์ได้รับการคำแนะนำจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สาขาบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) สามารถใช้วิชาที่เราเรียนมาไปพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติตนต่อสังคม ด้านการบริหารงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันร่วมกับคนอื่น ทำให้เราต้องมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา โดยเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น เพราะในโลกปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องทันต่อเหตุการณ์ และมีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อเราจะได้นำความรู้ไปใช้ในการทำงาน ดังนั้น จึงอยากให้รุ่นน้องหรือผู้ที่ศึกษาอยู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้มาก เพื่อที่จะได้ออกไปฝึกงานในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาใช้ในการปฏิบัติงานในการทำงานในอนาคตเมื่อเราจบแล้ว และที่สำคัญอยากให้รุ่นน้องที่จะฝึกประสบการณ์มีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน ศึกษารายละเอียดของงานที่เราจะฝึกให้ดี ว่าเป็นงานที่มีลักษณะอย่างไรเหมาะสมกับเราไหม และหน่วยงานที่เราไปฝึกนั้นมีประวัติและความเป็นมาอย่างไร สถานที่ตั้งอยู่ตรงไหน ไม่ควรเลือกที่ฝึกงานที่อยู่ไกลจนเกินไป ควรจะเลือกที่ฝึกงานที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และความปลอยภัยด้วย เพื่อเราจะได้กลับมาทำรายงานในส่วนของเวลาที่เหลือได้อีก
ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาใด ๆ ก็ตาม ก็ควรที่จะซักถามถึงข้อสงสัยและปัญหากับองค์การที่เราไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพราะปัญหาที่พบนั้นอาจจะเกิดขึ้นำด้เมื่อเราได้เข้าทำงานจริง ๆ

บทที่ 4 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

บทที่ 4
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

4.1 รายละเอียดงานที่ได้รับมอบหมาย
งานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวันอาจจะเหมือนหรือต่างกันไปในแต่ละวันขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์จะสั่งให้ทำ ซึ่งในแต่ละวันได้รับมอบหมายดังนี้

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร ลงทะเบียนคำสั่งย้ายข้าราชการ

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนคำสั่งย้ายข้าราชการ

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนคำสั่งย้ายข้าราชการ

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนคำสั่งข้าราชการรักษาการแทน /รักษาการในตำแหน่ง

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนคำสั่งย้ายข้าราชการ/โอนข้าราชการ

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนรายชื่อข้าราชการ เช็คชื่อผู้ที่อบรมทางไกลผ่านสื่อ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
คัด ก.พ. 7 ที่ภาค 3

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือส่งตัวข้าราชการ ถ่ายเอกสาร

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือส่งตัวข้าราชการ ถ่ายเอกสาร เก็บคำสั่งเข้าแฟ้ม

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็ครายชื่อเพื่อแจก ก.พ. 7 แจก ก.พ. ให้กับเจ้าหนาที่

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือตอบรับข้าราชการมารายงานตัว แจก ก.พ. ให้เจ้าหน้าที่ เวียนหนังสือ ถ่ายเอกสาร เก็บคำสั่งเข้าแฟ้ม

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือตอบรับข้าราชการมารายงานตัว ทำหนังสือคำร้องขอย้าย ถ่ายเอกสาร

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนวันที่ข้าราชการมารายงานตัว/ส่งตัว จัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้ม

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เก็บ ก.พ. เข้าแฟ้ม เขียนเลขที่ตำแหน่ง ถ่ายเอกสาร

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็ครายชื่อข้าราชการ มารายงานตัว ส่งตัว และตอบรับข้าราชการมารายงานตัว ถ่ายเอกสาร

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็ครายชื่อข้าราชการที่เดินทางตามคำสั่ง ถ่ายเอกสาร

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็ครายชื่อข้าราชการที่เดินทางตามคำสั่ง เรียงประวัติ ก.พ. ตามเลขที่ตำแหน่ง

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เรียงประวัติ ก.พ. ตามเลขที่ตำแหน่ง ทำหนังสือตอบรับข้าราชการมารายงานตัว ถ่ายเอกสาร
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เก็บเอกสารเข้าแฟ้ม เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร เก็บเอกสารเข้าแฟ้ม

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ เช็คจำนวนข้าราชการเพื่อจำแนกเพศลาอัตรากำลัง ถ่ายเอกสาร

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เวียนหนังสือ ทำหนังสือคำร้องขอย้าย ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ จำแนกเพศข้าราชการและอัตรากำลัง

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ จัดหมวดแฟ้มข้าราชการ ค้นหาประวัติข้าราชกการ

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำไปรษณีย์ และทำแบบตอบรับกลับ จัดคำสั่งข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าแฟ้ม ถ่ายเอกสาร

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ เช็ดชื่อข้าราชการในส่วนต่าง ๆ มีทั่งหมดกี่คน

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำทะเบียนอบรมของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร


วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ทำทะเบียนอบรมของข้าราชการและลูกจ้างประจำ เวียนหนังสือ ถ่ายเอกสาร

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสารเรื่องเปลี่ยนจากระบบ C เป็นระบบแท่ง เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ รับโทรศัพท์

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ออกเลข ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
คีย์ข้อมูล ออกเลข เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร เวียนหนังสือ เช็คคุรุภัณฑ์ เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ทำหนังสือเวียน ออกเลข ถ่ายเอกสาร

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เขียน จม.ที่ส่งทางไปรณีย์ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ


วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน เขียน จม. ที่ส่งทางไปรณีย์ เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือเพื่อขอทำตรายาง ออกเลข ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อเจ้าหน้าที่ที่เซ็น Pro-test Pre-test เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน พิมพ์ตัวเลขเพื่อจับฉลากปีใหม่

วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
พิมพ์ชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อจับฉลากปีใหม่ ตัดฉลาก ส่งงาน เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ พิมพ์ตัวเลขเพื่อจับฉลากเพิ่ม ตัดฉลาก ถ่ายเอกสาร

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ตัดฉลาก เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อข้าราชการ และเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ของข้าราชการ ออกเลข เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ออกเลข พิมพ์เลข และชื่อเพื่อจับของขวัญ เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
พิมพ์ตัวเลข ตัดฉลาก ถ่ายเอกสาร ส่งหนังสือเวียน

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือส่งตัว ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
เข้าเว็บค้นหาประวัติข้าราชการ เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
พิมพ์เบอร์โทรศัพท์ภายใน ทำเกษณีย์ส่งภาค 3 ถ่ายเอกสาร ออกเลข ให้เจ้าหน้าที่เช็ค Pre-Pro test ส่งงาน

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือเวียน ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ รับโทรศัพท์

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ออกเลข ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือเวียน ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ
วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ออกเลข เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือเวียน ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ รับโทรศัพท์

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร เวียนหนังสือ เก็บเอกสารเข้าแฟ้ม

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
พิมพ์สมุดโทรศัพท์ ออกเลข ทำหนังสือเวียน พิมฑ์รายชื่อเจ้าหน้าที่ เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ออกเลข ทำหนังสือเวียน รับโทรศัพท์

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือเวียน ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ รับโทรศัพท์

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ทำหนังสือเวียน รับโทรศัพท์



วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังรับรองเงินเดือน ทำหนังสือเวียน ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ


วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำเกษณียนส่งภาค 3 ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ พิมพ์ปะหน้าติดแฟ้ม รับโทรศัพท์

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน รับโทรศัพท์

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ลงทะเบียนคำสั่งย้ายข้าราชการ

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือส่งตังข้าราชการ ถ่านเอกสาร รับโทรศัพท์

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร เก็บเอกสารเข้าแฟ้ม รับโทรศัพท์

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ออกเลข

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ทำหนังสือเวียน ทำเกษียณส่งภาค 3 ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ถ่ายเอกสาร รับโทรศัพท์ ทำหนังสือเวียน เก็บเอกสารเข้าแฟ้ม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ได้รับมอบหมายดังนี้
ถ่ายเอกสาร เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ปริ้นคำสั่งอื่น ๆ และคำสั่งย้ายข้าราชการ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้รับมอบหมายดังนี้
ลงทะเบียนคำสั่งย้ายข้าราชการ /โอนข้าราชการ / ให้ข้าราชการปฎิบัติราชการ จัดทำแฟ้ม จัดเก็บเอกสาร

4.2 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการที่ได้ศึกษาตามหลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) ทำให้
ได้รับความรู้มากมายซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 ได้ดังต่อไปนี้
- การทำเอกสารต่างๆ คือ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง การจัดรูปแบบเอกสารให้เป็นทางการ ต้องมีความรอบคอบในการทำเอกสารสำคัญๆ
- การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ คือ การที่เราเข้าไปหาข้อมูลต่าง ๆ เจ้าพนักงานของราชการในเว็บของกรมสรรพากร
- การใช้ภาษาในการสนทนากับผู้อื่น คือ ในการสนทนากับลูกค้าต้องใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย สุภาพ ชัดถ้อยชัดคำ สร้างความประทับใจให้คู่สนทนา
- การพิมพ์หนังสือราชการ ด้วยโปรแกรม Microsoft Word
- การพิมพ์เกษียณพื้นที่ ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel

บทที่ 3 วิธีการฝึกประสบการณ์

บทที่ 3
วิธีการฝึกประสบการณ์

3.1 ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการที่ได้ศึกษาในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 อาจารย์ ให้ไปหาสถานที่ที่จะออกไปฝึกงาน ซึ่งกำหนดให้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล แล้วส่งชื่อบริษัทที่นักศึกษาจะออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่อาจารย์ ระบุผู้ติดต่อ และให้นักศึกษาจัดทำเอกสารจดหมายฝึกงาน พร้อมทั้งแนบแผนที่ของบริษัทที่จะไปฝึกงาน จากนั้นอาจารย์ก็จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้นักศึกษานำไปส่งที่บริษัทที่นักศึกษาจะเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สุดท้ายอาจารย์จัดทำหนังสือส่งตัวนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อไปยื่นในวันที่นักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพวันแรก
3.1.1 ไปหาสถานที่ฝึกงานและสอบถามรายละเอียดของงานและเขารับนักศึกษาฝึกงานไหม
3.1.2 ไปติดต่อคุณ นิตยา รัตนพันธ์ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.1.3 มาเขียนสถานที่ที่จะไปฝึกงานกับอาจารย์ ญาณีรัตน์ หาญประเสริฐ
3.1.4 อาจารย์ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกงานส่งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.1.5 ทางหน่วยงานตอบรับให้นักศึกษาเข้าฝึกงาน
3.1.6 อาจารย์ทำหนังสือส่งตัวนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.7 เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เริ่มตั้งแต่ วัน จันทร์ ที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง วัน ศุกร์ ที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

3.2 วิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 นั้น วันทำการ จันทร์-ศุกร์ เข้างาน 08.30-16.30 น. งานที่ทำในแต่ละวันของข้าพเจ้าคือ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน รับโทรศัพท์ ลงทะเบียนย้ายข้าราชการ จัดทำแฟ้มและจัดเก็บเอกสาร แฟกซ์เอกสาร ทำหนังสือส่งตัวและตอบรับข้าราชการมารายงานตัว เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ถ่ายเอกสาร คือ ถ่ายติดบอนด์ หรือเก็บเข้าแฟ้ม หรือทำเป็นหนังสือเวียน
หนังสือเวียน คือ เป็นหนังสือที่มาจากกรมหรือภาค 3 หรือจากหน่วนงานอื่น เราก็มาเวียนให้ส่วนต่าง ๆ ในองค์การได้ทราบว่าเป็นเรื่องอะไร
แฟกซ์เอกสาร คือ แฟกซ์เอกสารให้หน่วยงานอื่นเมื่อเขาต้องการหรือโทรมาขอ
จัดทำแฟ้มและจัดเก็บเอกสาร คือ พิมพ์ชื่อแฟ้มและตั้งแฟ้มขึ้นมาใหม่ และนำเอกสารเข้าเก็บในแฟ้ม
ทำหนังสือส่งตัวและตอบรับข้าราชการมารายงานตัว คือ ทำหนังสือส่งตัวผู้ที่จะเดินทางไปทำงานในหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ที่นี้ตามคำสั่งกรมที่ออกมาว่าจะให้ไปปฏิบัติงานที่ไหน และตอบรับข้าราชการที่มารายงานตัวในหน่วยงานของเรา
เช็คชื่อในสมุดลงเวลา คือ เช็คชื่อว่าข้าราชการคนใดไม่มาปฏิบัติราชการหรือมาสาย
ลงทะเบียนย้ายข้าราชการ คือ จะมีคำสั่งย้ายข้าราชการ เราก็เอามาลงว่าเจ้าหน้าที่คนนี้ย้ายไปทำงานที่หน่วยงานไหนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน


3.3 การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการฝึกประสบการณ์ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาส อุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
3.1.1 จุดแข็ง (Strength : S) หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ในตัวหนังศึกษา ความรู้ ความสามารถที่แสดงออกมาโดดเด่นกว่าคนอื่น ซึ่งก็มีดังนี้
3.1.1.1 มีความตั้งใจทำงานในงานที่ตนได้รับมอบหมายให้ทำ
3.1.1.2 มีความอดทนต่องานที่ทำ
3.1.1.3 เชื่อฟังคำแนะนำจากผู้ฝึกประสบการณ์

3.1.2 จุดอ่อน (Weakness : W) หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน อาจจะเป็นปัญหาหรือข้อบกพร่อง ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำให้งานเกิดความล่าช้าได้ ซึ่งควรหาวิธีในการแก้จุดอ่อนนี้เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
3.1.2.1 ถ้าทำงานในส่วนที่ตนไม่ถนัดและไม่เข้าใจจะทำให้ทำงานช้า
3.1.2.2 จะทำงานได้ไม่ดีเมื่อถูกต่อว่าหรือตำหนิเรื่องงาน
3.1.2.3 ยังแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ายังไม่ค่อยได้






3.1.3 โอกาส (Opportunities : O) หมายถึง โอกาสที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เรียนรู้ได้ร่วมงานกับ สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.1.3.1 ทำให้ได้รับความรู้จากการฝึกงานเพิ่มขึ้นโอกาสที่สอบเข้าทำงานที่กรมสรรพากร
3.1.3.2 รู้จักวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้
3.1.3.3 ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในงานที่ทำ

3.1.4 อุปสรรค (Threat :T) หมายถึง อุปสรรคที่มีผลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ทำ
ให้งานเกิดความล่าช้า
3.1.4.1 ความรู้และความเข้าใจในหน่วยงานยังมีไม่มาก
3.1.4.2 การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ป็นไปได้ยากเพราะไม่รู้จักชื่อความ
ล่าช่าในขั้นตอนการทำงานทำให้เราล่าช้าไปด้วยเมื่

บทที่ 2 สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27

บทที่ 2
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27

2.1 ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน

ชื่อหน่วยงาน : สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
ที่ตั้งหน่วยงาน : 14/21 หมู่ 3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150 โทรศัพท์ : 0-2416-5410 โทรสาร : 0-2416-5413
2.1.1 ประวัติความเป็นมา
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมสรรพ
กร สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 3 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2539 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บภาษีอากรในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ โดยการควบคุมและติดตามผลการจัดเก็บอากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
พื้นที่ในความรับผิดชอบ มี 5 เขต ตามการแบ่งเขตของกระทรวงมหาดไทย แต่เป็น 3 สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาของกรมสรรพากร
1. เขตบางขุนเทียน สรรพากรพื้นที่สาขาบางขุนเทียน
2. เขตบางบอน สรรพากรพื้นที่สาขาบางขุนเทียน
3. เขตราษฎร์บูรณะ สรรพากรพื้นที่สาขาราษฎร์บูรณะ
4. เขตทุ่งครุ สรรพากรพื้นที่สาขาราษฎร์บูรณะ
5. เขตจอมทอง สรรพากรพื้นที่สาขาจอมทอง



2.1.2 ประวัติการจัดตั้งและแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางแผนปฏิรูปการปกครองแล้ว ก็ได้ทรงวางระเบียบกิจการคลังใหม่โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เพื่อเก็บรายได้ภาษีอากรของแผ่นดินมารวมไว้ ณ ที่แห่งเดียว ต่อมาจึงยกเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีเสนาบดีประจำต่างหากในปีพ.ศ. 2435 การภาษีอากรก็ได้ทรงปรับปรุงใหม่ โดยแต่งตั้งข้าหลวงคลังไปประจำทุกจังหวัดและทุกมณฑลเพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรงแล้วรวบรวมรายได้ทั้งหมดส่งมารวมไว้ ณ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ราษฎรไม่ต้องเสียภาษีอากรมากน้อยลักลั่นกันเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ย่อมเป็นการปรับปรุงระบบการคลังอย่างยิ่งใหญ่ ทำให้ผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ในด้านรายจ่ายก็ทรงวางพิกัดอัตราเงินเดือนให้แก่ข้าราชการตามตำแหน่งเป็นที่แน่นอนแทนเงินเบี้ยหวัดที่จ่ายแต่เดิม และยังพระราชทานเบี้ยบำนาญแก่ข้าราชการเพื่อเป็นเครื่องเลี้ยงชีพเมื่อรับราชการไม่ได้แล้ว อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2439 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก อันเป็นแบบฉบับที่จะต้องทำงบประมาณแผ่นดินสืบมาทุกปี
ครั้นปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) ประเทศไทยต้องประสบวิกฤตทางการเมืองอย่างหนัก ด้วยฝรั่งเศสยกกองทหารมารุกรานดินแดนฝั่งแม่น้ำโขง รัฐบาลจำเป็นต้องส่งทหารไปตั้งรับข้าศึกที่เมืองอุบลราชธานี ทำให้เมืองปราจีนบุรีมีความสำคัญ ทางด้านยุทธศาสตร์และทาง การเมืองขึ้น ฉะนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งเมืองปราจีนบุรีเป็นมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และโปรดให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุกร์ ชูโต) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ต่อมาในการประชุม สมุหเทศาภิบาลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438 พระยาฤทธิรงค์รณเฉท กราบทูลเสนาบดีกระทรวง มหาดไทยว่าอากรค่าน้ำในมณฑลปราจีนบุรี รัฐบาลได้รับเงินอากรเข้าพระคลัง น้อยกว่าเท่าที่ควรจะได้ เพราะนายอากรที่รับผูกขาดไม่มีเวลาที่จะเก็บได้ทั่วถึง ถ้าให้สมุหเทศาภิบาลจัดเก็บอากรค่าน้ำและ ให้รางวัลส่วนลดแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ให้เป็นพนักงานเก็บ จะได้เงินหลวงเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงนำความไปกราบทูลกรมขุนศิริธัชสังกาศ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งไม่ทรงเห็นชอบด้วย ดังปรากฎข้อความในหนังสือ สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น มีหนังสือทูลสมเด็จกรมพระยานริศราฯ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2478 อธิบายเรื่องเปลี่ยนวิธีเก็บภาษีอากรดังนี้
"หลายปีมาแล้วเมื่อ เซอร์ เอดวาร์ด กุ๊ก ยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงพระคลัง วันหนึ่งมาหาหม่อมฉันที่วังวรดิศ พูดขึ้นว่า แกตรวจดูจำนวนเงินแผ่นดินที่ได้รับประจำปีย้อนถอยหลังขึ้นไปถึงรัชกาลที่ 5 เกิดประหลาดใจด้วยเห็นเงินจำนวนรายได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1896 ( พ.ศ. 2439 ) เพิ่มขึ้นปีละมากๆ ไปตรวจดูทางภาษีอากร ก็ไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นรัฐบาลได้ตั้งภาษีอากรอย่างใดขึ้นใหม่ หรือเพิ่มพิกัดอัตราภาษีเก่าอย่างใดอีก คิดไม่เห็นว่าเงินแผ่นดินเพิ่มขึ้นมากมายด้วยเหตุใด ถามพวกข้าราชการกระทรวงพระคลังที่รับราชการอยู่ในเวลานี้ก็ไม่มีใครรู้ แกนึกว่าบางทีหม่อมฉันจะทราบเหตุเพราะตัวหม่อมฉันทำราชการในสมัยนั้นจึงมาถาม หม่อมฉันตอบว่า เหตุที่เงินแผ่นดินได้มากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2439 นั้น หม่อมฉันทราบอยู่พอจะอธิบายได้ แต่นึกขวยใจอยู่หน่อยด้วยเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันอยู่บ้าง ขออย่าให้แกเข้าใจว่าหม่อมฉันเล่าอวดดีสำหรับตัว เพราะที่จริง เป็นความคิดและช่วยกันทำหลายคน แล้วหม่อมฉันจึงเล่าเรื่องตามที่เป็นมาให้เซอร์ เอดวาร์ด กุ๊กฟังก็พอใจ แต่เรื่องที่หม่อมฉันเล่านั้นยังไม่เคยจดลงเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะเมื่อเซอร์ เอดวาร์ด กุ๊ก มาถามยอดจำนวนเงินด้วยวาจา หม่อมฉันจำจำนวนเงินไม่ได้ พึ่งมาพบบัญชีจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นครั้งนั้นเมื่อเร็วๆนี้ หม่อมฉันจึงเห็นควรจะเขียนทูลบรรเลงในจดหมายประจำสัปดาห์ ได้เรื่องอันเป็นมูลเหตุมีดังกล่าวต่อไปนี้
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดฯให้หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ ร.ศ.111 ( พ.ศ. 2435 ) นั้นทรงพระราชดำริถึงลักษณะการปกครองหัวเมืองที่จะจัดต่อไปในภายหน้าเป็นยุติ 3 ข้อ คือ
ข้อ 1 จะรวบรวมการบังคับบัญชาหัวเมือง ซึ่งเคยแยกกันอยู่ 3 กระทรวงคือ มหาดไทย กลาโหม กรมท่า ให้มารวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว
ข้อ 2 จะรวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลตามสมควรแก่ภูมิลำเนา ให้สะดวกแก่การปกครองและมีสมุหเทศาภิบาลบังคับบัญชาการทุกมณฆล
ข้อ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ทรงพระราชดำริ จะค่อยจัดไปเป็นชั้นๆมิให้เกิดการยุ่งเหยิงในการเปลี่ยนแปลง
ในปีแรก หม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเป็นแต่ศึกษาหาความรู้ราชการในกระทรวง กับออกไปตรวจตามหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งภายหลังจัดเป็นมณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลก กับทั้งเมืองสุพรรณบุรี (เวลานั้นเมืองนครชัยศรียังขึ้นอยู่กรมท่า) เพื่อหาความรู้มาคิดกะรายการที่จะจัดต่อไป ครั้นปีต่อมาถึง ร.ศ.112 ( พ.ศ. 2436 ) เผอิญเกิดเหตุวิวาทกับฝรั่งเศส จะต้องส่งทหารไปเมืองอุบลทางเมืองปราจีนบุรีเพื่อจะให้สะดวกแก่การส่งทหาร จึงโปรดให้จัดตั้งมณฑลปราจีนขึ้นก่อนและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุกร์ ชูโต) เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ต่อมาอีกปีหนึ่งจึงตั้งมณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลกและตั้งมณฑลอื่นในปีต่อๆมา ในสมัยนั้น การเก็บภาษีอากรทั้งที่กรุงเทพฯและตามหัวเมืองยังใช้วิธีกระทรวงพระคลังเรียกประมูลให้มีผู้รับผูกขาดไปเก็บภาษีอากรต่างๆ ทุกปี พระยาฤทธิรงค์ฯได้ไปจัดมณฑลปราจีนก่อนมณฑลอื่นอยู่ปีหนึ่ง รู้การในท้องที่ดีกว่าสมุหเทศาภิบาลคนอื่น เมื่อมีการประชุมสมุหเทศาภิบาลครั้งแรกในพ.ศ. 2438 พระยาฤทธิรงค์ฯมาบอกหม่อมฉันว่าอากรค่าน้ำในมณฑลปราจีนเงินหลวงที่ได้เข้าพระคลังยังน้อยกว่าที่ควรจะได้อยู่มาก เพราะนายอากรที่รับผูกขาดไป มีเวลาที่จะเก็บเฉพาะปีหนึ่ง ต้องรีบจัดเก็บให้ได้กำไรภายในเวลาที่ตนมีอำนาจ เพราะฉะนั้นใครจะเข้าว่าประมูลก็ต้องกะจำนวนเงินให้ได้ต่ำด้วยกลัวขาดทุน ยกตัวอย่างดังอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรีมึผู้รับประมูลเสนอเพียงปีละ 2,400 บาทเท่านั้น แม้จำนวนเงินเพียงเท่านั้น ใครเป็นนายอากร ยังต้องไปใช้วิธีเก็บเลี่ยงพระราชบัญญัติ เช่น คิดอุบายว่ากล่าวให้ราษฎรยอมเสียค่าน้ำเหมาตามครัวเรือน เป็นต้น เพื่อจะให้ได้เงินโดยเร็ว แต่ที่จริงนั้นนายอากรเก็บค่าน้ำได้แต่ราษฎรที่อยู่ใกล้ๆ พวกที่อยู่ห่างไกลออกไปนายอากรก็ไม่สามารถจะเก็บไปถึง ยังมีคนที่ไม่ต้องไปเสียภาษีอากรค่าน้ำอยู่โดยมาก พระยาฤทธิรงค์ฯเห็นว่าถ้าให้เทศาภิบาลเก็บอากรค่าน้ำให้ส่วนลดแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่ใช้เป็นพนักงานเก็บ จะได้เงินหลวงเพิ่มขึ้นอีกมากหม่อมฉันเห็นชอบด้วยจึงนำความไปทูล กรมขุนศิริธัชสังกาศ
ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังอยู่เวลานั้น ท่านไม่ทรงเห็นชอบด้วยตรัสว่า นายอากรไม่ส่งเงินฉันเอาตัวขังได้ ถ้าเทศาฯไม่ส่งเงิน ฉันเอามาขังไม่ได้ เงินหลวงก็จะสูญ เมื่อท่านตรัสอย่างนั้นหม่อมฉันก็จนใจ ต่อมาเมื่อใกล้จะสิ้นปี วันหนึ่งกรมขุนศิริธัชฯเสด็จมาหาหม่อมฉันที่กระทรวงมหาดไทย ตรัสถามว่าที่พระยาฤทธิรงค์ฯจะรับเก็บอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี จะรับได้จริงๆหรือ หม่อมฉันทูลถามว่าเหตุใดจึงจะกลับโปรดให้พระยาฤทธิรงค์ฯเก็บอากรค่าน้ำ ตรัสบอกว่านายอากรเดิมร้องขาดทุน ขอลดเงินอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี ผู้อื่นก็ไม่มีใครเข้าประมูลดูเหมือนจะนัดแนะกันโกงกระทรวงพระคลัง จึงทรงพระดำริเปลี่ยนมาให้เทศาฯเก็บ หม่อมฉันทูลถามว่าจะต้องพระประสงค์ให้ส่งจำนวนเงินสักเท่าใด ตรัสตอบว่าเพียงเท่าที่นายอากรผูกขาดไปปีก่อน อย่าให้เงินหลวงลดลงก็พอพระหฤทัย หม่อมฉันจึงบอกไปยังพระยาฤทธิรงค์ฯตอบมาว่าจะรับเก็บและจะส่งเงินหลวงให้ได้เท่าที่นายอากรผูกขาด แนะมาให้หม่อมฉันทำความตกลงกับกระทรวงพระคลัง ข้อหนึ่งว่า ถ้าเทศาฯเก็บเงินอากรค่าน้ำได้มากกว่าจำนวนที่นายอากรรับผูกขาดขึ้นไปเท่าใด ขอให้กระทรวงพระคลังอนุญาต ให้กระทรวงมหาดไทยใช้เงินที่เพิ่มขึ้นบ้าง ปลูกสร้างสถานที่ว่าการและที่พักข้าราชการในมณฑลปราจีนซึ่งต้องการเงินอยู่ หม่อมฉันไปทูลกรมขุนศิริธัชฯ ก็ทรงยอมทำตามคำพระยาฤทธิรงค์ฯ แต่การที่มอบอำนาจให้เทศาฯเก็บอากรค่าน้ำครั้งนั้นอยู่ข้างแปลก ด้วยกรมขุนศิริธัชฯมีรับสั่งให้ออกท้องตรานกวายุภักษ์ กระทรวงการคลัง ตั้งให้พระยาฤทธิรงค์รเฉท เป็นขุนมัจฉาฯ (สร้อยว่ากระไรหม่อมฉันจำไม่ได้) ตำแหน่งนายอากรค่าน้ำเมืองปราจีนบุรี พระยาฤทธิรงค์ฯยังคุยอวดอยู่จนแก่ว่าตัวแกคนเดียวที่เป็นพระยากินพานทองแล้วได้เลื่อนเป็นขุนและว่ายังเก็บท้องตรากระทรวงพระคลังฉบับนั้นไว้เป็นที่ระลึก เพราะเหตุใดกรมขุนศิริธัชฯท่านจึงทรงทำเช่นนั้น มาคิดดูภายหลังจึงเห็นว่าท่านเตรียมเผื่อ พระนาฤทธิรงค์ฯจะทำไม่ได้ดังรับปีหน้าจะได้ตั้งคนอื่นได้สะดวกไม่ต้องขอโอนหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย แต่พระยาฤทธิรงค์ฯเก็บเงินอากรค่าน้ำ เมืองปราจีนบุรี ได้มากกว่าจำนวนเงินที่นายอากรเคยเก็บรับผูกขาดหลายเท่า กระทรวงมหาดไทยก็เริ่มแลเห็นว่า การที่จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลอาจจะจัดการเก็บเงินภาษีอากรซึ่งเป็นวิธีรัฐบาลเก็บเอง ให้เงินผลประโยชน์แผ่นดินเพิ่มขึ้นได้อีกมาก แต่ยังไม่ทันไปพูดกับกระทรวงพระคลังกรมขุนศิริธัชฯเสด็จออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังเสียก่อนจึงยังมิได้จัดการแก้ไขอย่างไร
พอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสด็จมาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังทราบเรื่องพระยาฤทธิรงค์ฯเก็บอากรค่าน้ำ ก็ทรงเลื่อมใสในการเปลี่ยนแปลงนั้น แล้วอนุญาตให้เทศาฯเริ่มจัดการเก็บภาษีอากรและต่อมากรมหมื่นมหิศรฯให้กรมสรรพากรเป็นพนักงานเก็บภาษีอากร และพาฝรั่งผู้ชำนาญเข้ามาจัดระเบียบ ได้มิสเตอร์เกรแฮมมาเป็นเจ้ากรมสรรพากรใน โอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาลได้มิสเตอร์ไยล์ (ซึ่งภายหลังได้เป็นพระยาอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร) เป็นเจ้ากรมสรรพากรนอก โอนไปขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ตั้งหน้าจัดวิธีเก็บอากรด้วยเลิกผูกขาดเปลี่ยนเป็นรัฐบาลเก็บเองเป็นอย่างๆมา และการที่จัดนั้นค่อยจัดขยายออกไปเป็นมณฑลๆ จำนวนเงินจึงได้เพิ่มขึ้นเป็นรายปี"
1.1.3 ตราประจำกระทรวงการคลังและกรมสรรพากร
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงตรัสอธิบายเกี่ยวกับการใช้ตราว่า "แต่ก่อนไม่ได้ใช้เซ็นชื่อ ใช้ตราประจำตัวหรือประจำตำแหน่งประทับแทนเซ็นชื่อ เพราะฉะนั้น พระเจ้าแผ่นดินกับทั้งบรรดาสามัญ ซึ่งมีธุระในการหนังสือก็ทำตราขึ้นใช้ประจำตัว เว้นแต่บางคนบางตำแหน่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดปราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระราชลัญจกรไปใช้เป็นตราประจำตัว นับเป็นเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง" เมื่อได้พระราชทานไปแล้ว ก็ไม่เรียกว่าพระราชลัญจกร จะเรียกจำเพาะแต่ที่ทรงใช้ประทับเท่านั้น ผู้ที่ได้รับตราพระราชทาน ถ้าเป็นตราประจำตัว เมื่อไม่มีตัวแล้วก็ส่งคืน ถ้าเป็นตราประจำตำแหน่งก็ต้องส่งคืนเช่นกัน ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ ตราตำแหน่งเสนาบดีเหล่านี้ ไม่ปรากฎว่าใช้ประทับอีกต่อไป นอกจากจะใช้เครื่องหมายประจำกระทรวง

เดิมกระทรวงการคลังใช้ตราพระสุริยะมณฑล เป็นตราประจำกระทรวง พระยาอนุมานราชธน ได้อธิบายเรื่องตราพระสุริยมณฑลไว้ว่า "แต่ก่อนนี้การคลังและการต่างประเทศรวมอยู่ด้วยกัน และได้ใช้ตราบัวแก้ว ซึ่งเดิมเป็นตราประจำตำแหน่งเจ้าพระยาคลัง เป็นตรา ประจำกระทรวง ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองใหม่ โดยยกกรมพระคลังมหาสมบัติ แยกออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ตราบัวแก้วจึงตกเป็นตราประจำกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ถือเอาตราพระสุริยมณฑลเป็นตราประจำกระทรวง (ตราพระสุริยมณฑลมีสองตรา คือ ตราพระสุริยมณฑลใหญ่ และตราพระสุริยมณฑลน้อย) ตราพระสุริยมณฑลนี้ ได้เคยพระราชทานเป็นตราประจำตัวแก่สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)"

ตราปักษาวายุภักษ์ ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าตราปักษาวายุภักษ์ เป็นตราของพระยาราชภักดีฯ เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ต่อมาเมื่อโปรดให้ตั้งกระทรวงพระคลังฯและใช้ตราพระสุริยมณฑลแล้ว ตราปักษาวายุภักษ์ก็เลิกใช้ แต่นำเอามาใช้เป็นเครื่องหมายกระทรวงการคลัง นกวายุภักษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ ถ้าแปลตามคำก็ว่า นกกินลม ข้อยากในนกนี้เกิดขึ้นในที่ประชุมเสนาบดี สั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนผูกตรากระทรวงต่างๆเป็นลายข้อมือเสื้อเครื่องแบบ หากเป็นตราเก่าซึ่งมีตราประจำกระทรวงอยู่แล้ว จะเอามาใช้ได้ให้ใช้ตราเก่า ที่เป็นกระทรวงใหม่ไม่มีตรามาแต่เดิมจึงคิดผูกขึ้นใหม่ โดยคำสั่งอย่างนี้กระทรวงใดก็ไม่ยากเท่ากระทรวงคลัง ซึ่งเดิมพระยาราชภักดีฯทำการในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงพระคลัง คือตรานกวายุภักษ์ รูปนกวายุภักษ์ในตรานั้นก็เป็นนกแบบสัตว์หิมพานต์ เหมือนกับนกอินทรีย์
ฉะนั้นไม่ทรงเชื่อว่าถูก จึงได้ทรงรำลึกต่อไป ก็ทรงรำลึกได้ว่า มี ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีความว่าทรงพระมาลาปักขนนกวายุภักษ์ ก็ทรงค้นหา ก็พบในหมายท้ายหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนริทรเทวี เมื่อมีคำปรากฏเช่นนั้น นกวายุภักษ์ก็คือ นกการเวก เพราะพระมาลาทุกชนิดที่ปักขนนก ย่อมใช้ขนนกการเวกอย่างเดียวเป็นปกติ เมื่อทรงดำริปรับนกวายุภักษ์กับนกการเวกเข้ากัน ก็เห็นลงกันได้โดยมีทางเราพูดกันว่า นกการเวกนั้นมีปกติอยู่ในเมฆบนฟ้า กินลมเป็นภักษาหารตามที่ว่าพิสดารเช่นนั้น ก็เพราะนกชนิดนั้นในเมืองเราไม่มีและที่ว่ากินลมก็เพราะในเมฆไม่มีอะไร นอกจากลมจึงให้กินลมเป็นอาหาร แต่เมื่อปกติของมันอยู่ในเมฆแล้วก็ไฉนเล่ามนุษย์จึงได้ขนมันมาปักหมวก เชื่อว่าเพราะเหตุที่น่าสงสัยเช่นนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตรัสสั่งไปต่างประเทศที่ส่งขนนกชนิดนั้นเข้ามา ให้ส่งตัวนกเข้ามาถวาย จึงได้ตัวจริงเป็นนกยัดไส้มีขนติดบริบูรณ์เข้ามา ก็เป็นนกที่เรียกตามภาษาอังกฤษ Paradise Bird ซึ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นนี้ นึกว่าแปลมาจากภาษาแขก ความก็ว่าเป็นนกฟ้าเราคงได้ฟังแขกเขาว่า จึงละเมอตามไป เมื่อได้นกยัดไส้เข้ามาแล้วจึงทรงจัดเอาขึ้นเกาะคอนมีด้าม ให้เด็กถือนำพระยานุมาศในงานสมเด็จเจ้าฟ้าโสกันต์ ตามที่ได้พยานมาว่าเป็นนกอยู่ในแผ่นดิน ไม่ใช่นกอยู่ในฟ้าเช่นนั้น ใครจะเชื่อกันหรือไม่ก็หาทราบไม่ แม้ราชสีห์เมื่อได้ตัวจริงมาบอกใครว่า นี่แหละราชสีห์ก็ไม่มีใครเชื่อด้วยไม่เหมือนกับที่เราปั้นเขียนกัน ตามที่เราปั้น เขียนกันนั้น ขาดสิ่งสำคัญที่ไม่มีสร้อยคอ อันจะพึงสมชื่อว่า ไกรสร หรือ ไกรสรสีห์ หรือ ไกรสรราชสีห์

เรื่องตรานกวายุภักษ์ประจำกระทรวงการคลัง จึงมีต้นเหตุดังที่เล่ามานี้ ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณ เครื่องหมายประจำกรมสรรพากร มีประวัติอยู่ในหนังสือธรรมบทแปล ภาค 5 เป็นบทตอนหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในเรื่องพระนางสามาวดี ซึ่งนายประพัฒน์ ตรีณรงค์ แห่งกรมศิลปากร ได้เขียนไว้ในหนังสือ ศิลปากร ว่า

พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปลันตาปะ แห่งกรุงโกสัมพี เมื่อยังอยู่ในพระครรภ์ นกหัสดีลิงค์ได้โอบเอาพระราชมารดาไปปล่อยไว้ที่คาคบไม้ใหญ่ในป่า และได้ประสูติที่นั่นยามรุ่งอรุณ จึงมีพระนามว่า อุเทน แปลว่า รุ่งอรุณที่ปราศจากเมฆหมอก ต่อมา อัลลกัปปดาบส นำไปทำนุบำรุงและสอนมนต์ชื่อหัสดีกันต์และพิณสามสาย เมื่อดีดพิณและสาธยายมนต์สามารถทำให้ช้างหนีหรือช้างเข้ามาหาก็ได้ เมื่อพระเจ้าปลันตาปะสวรรคตพระเจ้าอุเทนทรงนำกองทัพช้างเข้าสู่กรุงโกสัมพี และได้เสด็จขึ้นครองราชย์นับแต่บัดนั้น

ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณ (ตราเก่า) ที่ใช้ในสมัยเริ่มก่อตั้งกรมสรรพากร เมื่อ พ.ศ. 2459 อันมีพระเจ้าอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร (เอฟ.เอช.ไยล์) เป็นอธิบดีคนแรกนั้น ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้ออกแบบ ตราพระอุเทนธิราชดีดพิณที่ปรากฏในดวงตราอากรแสตมป์นั้น นายปลิว จั่นแก้ว แห่งกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้เขียนปรับปรุงจากตราเก่า ส่วนตราพระอุเทนธิราชดีดพิณที่กรมสรรพากรใช้อยู่ในปัจจุบัน (ตราใหม่) เข้าใจว่าดัดแปลงมาจากตราอากรแสตมป์
เหตุที่กรมสรรพากรได้นำพระรูปพระอุเทนธิราชดีดพิณ มาเป็นเครื่องหมายประจำกรม ก็เพราะได้พิจารณาเห็นว่าพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถใช้พิณและมนต์เรียกช้างได้ จึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรมเพื่อเรียกร้องให้ประชาชน นำภาษีอากรบำรุงให้รัฐ



2.2 โครงสร้างการบริหาร
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครพื้นที่ 27 มีโครงสร้างการบริหารงานดังนี้
แผนผังการบริหารงาน
สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27


2.3 ลักษณะงานของ (สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27)
สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยและอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอากร ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีให้กับกรมสรรพากรคือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีปีละครั้ง ดดยใช้แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด 90 หรือ ภ.ง.ด 91 ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องยื่นแบบและชำระภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด. 50 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายจะต้องรวบรวมนำส่งกรมสรรพากรเป้นรายเดือนตามแบบ ภ.ง.ด. 53 และ ภ.ง.ด 54 และภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บจากการจำหน่ายสินค้าและบริการ กิจการใดที่มีการนำเข้ารายได้ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและทางกรมสรรพากรจะออกใบกำกับภาษีให้เพื่อเป็นหลักฐาน และผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 โดยนำส่งเป็นรายเดือน
โดยสำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 จะมีพื้นที่รับผิดชอบอยู่ 5 เขต คือ เขตบางขุนเทียน เขตจอมทอง เขตบางบอน เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และพนักงานทั้งหมดของสำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 มีทั้งหมด 216 คน มีสรรพากรพื้นที่ 1 คน ผู้ช่วย 2 คน พนักงาน 213 คน ที่ตั้งขององค์การเป็นตึก 4 ชั้น วันทำการ คือ จันทร์-ศุกร์ เวลาทำการ 08.30-16.30 น.


2.4 ลักษระงานของ ( ส่วนบริหารงานทั่วไป )
ลักษณะงานในหน่วยงานของกรมสรรพากร คือ ส่วนบริหารงานทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
2.4.1 ส่วนบริหารงานทั่วไป
จะเป็นงานเกี่ยวกับธุรการ เป็นงานเกี่ยวกับการให้บริการต่าง ๆ หรือติดต่อหาข้อมูลลงรับเอกสารหรือหนังสือราชการที่ส่งมาจากที่อื่น ทำหนังสือเวียน พิมพ์หนังสือราชการ และบันทึกข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ รับ - ส่ง หนังสือราชการ โดยส่วนบริหารงานทั่วไปจะแบ่งย่อยออกอีกเป็นดังนี้
2.4.1.1 งานธุรการ เป็นงานเกี่ยวกับการลงรับหนังสือราชการที่ส่งมาจากที่อื่น ทำหนังสือเวียน พิมพ์หนังสือราชการ รับส่งหนังสือราชการ และดูแลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่ย้ายไปราชการที่อื่นเข้ามาปฏิบัติราชการที่นี้หรือข้าราชการที่มาบรรจุใหม่
2.4.1.2 งานประชาสัมพันธ์ เป็นงานที่เกี่ยวกับการชักชวนให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีมาเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด มีการรณรงค์ให้ประชาชนมีความกระตือรือร้น
2.4.1.3 งานพัสดุ เป็นงานเกี่ยวกับการดูแลอุปกรณ์สำนักงานภายในหน่วยงาน หรือจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงานให้เพียงพอต่อความต้องการ
2.4.1.4 งานการเงิน เป็นงานเกี่ยวกับการเบิกค่าสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ และเก็บเงินจากผู้ที่มาขอคัดแบบ
2.4.1.5 งานเลข เป็นงานที่เกี่ยวกับ การออกเลขให้ที่ผู้เสียภาษีให้กับผู้ที่มาขอใบอนุญาตในการประกอบการ หรือค้นหาเลขผู้ที่เสียภาษี
2.4.1.6 งานแบบ เป็นงานเกี่ยวกับการคัดแบบ ภงด.30 หรืออื่น ๆ ถ้าผู้ประกอบการจะมาขอคัดแบบหรือรับแบบก็จะมาติดต่อกับงานแบบ



2.5 ลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนงานที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายนั้น อยู่ใน ส่วนบริหารงานทั่วไป (งานธุรการ) เป็นงานเกี่ยวกับงานด้ารเอกสารซึ่งลักษณะงานที่ข้าพเจ้าทำตลอดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีรายละเอียดดังนี้
2.5.1 ทำหนังสือส่งตัวข้าราชการ และตอบรับข้าราชการมารายงานตัว
2.5.2 ทำหนังสือเวียน
2.5.3 รับโทรศัพท์ภายในองค์กรและภายนอกองคืกร
2.5.4 จัดทำแฟ้มและจัดเก็บเอกสาร
2.5.5 ถ่ายเอกสาร
2.5.6 ส่งแฟกซ์
2.5.7 ทำหนังสือส่งกรม และส่งภาค 3
2.5.8 ลงทะเบียนคำสั่งย้าย รักษาราชการแทน โอนข้าราชการ
รักษาการในตำแหน่งเช็คชื่อในสมุดลงเวลามาปฏิบัติราชการของข้าราชการแล

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสรสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้ามามีบทบาทนชีวิตประวันมากขึ้นเรียก
ได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ เพราะทุกองค์กร ทุกธุรกิจ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คอมพิวเตอร์เข้าเข้ามามีบทบาทในธุรกิจมากขึ้น นับว่าในยุคปัจจุบัน ทุกธุรกิจถ้าขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะทำให้ธุรกิจก้าวไม่ทันคู่แข่ง จึงทำให้นักศึกษามีความสนใจที่จะเรียนโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) เพื่อที่จะใด้นำความรู้ที่เรียนมาไปใช้ และหลักสำคัญของการศึกษาของแขนงวิชานี้คือการที่เราต้องเรียนรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จึงจะทำให้เราจบการศึกษาได้ จึงเป็นวิชาที่มีความสำคัญมากโดยทางอาจารย์จะให้นักศึกษาเรียนวิชานี้ในภาคเรียนสุดท้ายของการเรียน คือวิชา 3504804 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 จำนวนหน่วยกิจ 5(0-350) สำหรับหลักสูตร 4 ปี โดยที่นักศึกษาจะต้องออกไปฝึกประสบการณ์ ณ สถานที่ประกอบการจริง โดยที่มุ่งเน้นการฝึกประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแขนงวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ โดยเฉพาะแขนงรายวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพื่อที่จะให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการฝึกประสบการณ์และให้ฝึกประสบการณ์ใด ๆ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโลโลยีสารสนเทศหรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับงานที่ทำ ทำให้เราได้ลงปฏิบัติงานจริง หลังจากที่เราศึกษาจบแล้วจะได้มีประการณ์ในการทำงานไม่ตื่นเต้น มีความมั่นใจในการทำงาน ถือได้ว่าเป้นสิ่งสำคัญมากก่อนที่เราจะออกไปสู่โลกภายนอกจริง ๆ เมื่อเราศึกษาจบ และทางแขนงรายวิชาบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) ได้กำหนดการฝึกประสบการณ์ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2552
ดังนั้น จึงได้เข้าฝึกงาน ณ สำนักงานกรมสรรพากรกรุงเทพมหานครพื้นที่ 27 และเหตุที่เลือกองค์กรนี้คือ เพราะอยู่ใกล้บ้าน การเดินทางก็สะดวก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รับผิดชอบงานด้าน ส่วนบริหารงานทั่วไป (งานธุรการ) เพราะจะทำให้รู้ถึงสภาพการทำงานด้านธุรการมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร และคงจะเป็นงานที่จะต้องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากอีกด้านหนึ่ง รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานและจะได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงจะทำให้การฝึกประสบการณ์มีประสิทธิภาพ และทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษา และอาจจะยังมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในงานของหน่วยงานอีกด้วย
ดั้งนั้น รายงานฉบับนี้ นอกจากที่จะเสนอถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วของนักศึกษาแล้ว ยังได้รู้ถึงประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร รู้ถึงระบบการทำงานของราชการ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้จากการได้ฝึกประสบการณ์ในการทำงานจริง


1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษารายวิชาการฝึกประสบการณ์
1.2.2 เพื่อให้ได้นำความรู้ความสามารถจากที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
1.2.3 เพื่อสร้างประสบการณ์ในการทำงาน ณ สถานที่จริง
1.2.4 เพื่อศึกษขั้นตอนการทำงานของสถานที่ประกอบการจริง



1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.3.1 สามารถนำความรู้จากการฝึกประสบการณ์จริงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.3.2 สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษารายวิชาการฝึกประสบการณ์
1.3.3 ได้ประสบการณ์การทำงาน ณ สถานที่จริง
1.3.4 ได้ศึกษขั้นตอนการทำงานของสถานที่ประกอบการจริง




1.4 ขอบเขตของการฝึกประสบการณ์
1.4.1 ติดต่อพูดคุยกับพนักงาน
1.4.2 ทำหนังสือส่งตัว
1.4.3 ทำหนังสือตอบรับข้าราชการ
1.4.4 ทำเกษียณส่ง ภาค 3
1.4.5 จัดเก็บเอกสาร
1.4.5 ทำหนังสือเวียน
1.4.6 รับโทรศัพท์
1.4.7 ทำหนังสือรับรองเงินเดือน





1.5 ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ระยะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เริ่ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2552รวมระยะเวลา 69 วัน เป็นจำนวน 483 ชั่วโมง โดยฝึกประสบการณวิชาชีพในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. วันละ 7 ชั่วโมง เป็นจำนวน 15 สัปดาห์โดยมีรายละเอียดดังนี้




















































































คำนำ

คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 รหัส 3504804 เป็นรายวิชาที่อยู่เทอมสุดท้ายของการเรียน ซึ่งทุกคนที่เรียนปี 4 หรือผู้ที่จะจบการแล้วจะต้องได้ฝึกประสบการณ์ในรายวิชานี้ ผู้ฝึกประสบการณ์จะต้องนำความรู้ความสามารถที่มีนำปฏิบัติงานจริง และสามารถที่ทำงานร่วมกับคนอื่นได้หรือทำงานได้เมื่อศึกษาจบ และเข้าใจในระบบงานมากขึ้น
ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่จะศึกษาไม่มากก็น้อย เพราะได้ให้รายละเอียดต่าง ๆไว้มากมายเช่น วัตถุประสงค์ของการทำ ทำเพื่ออะไร มีการนำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานจริงอย่างไร ซึ่งผู้จัดทำได้บอกและอธิบายรายละเอียดให้ผู้อ่านได้ศึกษาโดยละเอียดในเล่มรายงาน
นอกจากนี้ใคร่ขอขอบคุณอาจารย์พรทิพย์ เหลียวตระกูล และคณะ ที่ช่วยเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำต่อผู้จัดทำ




(นางสาวกันยารัตน์ บัวละคร)
ผู้จัดทำ

หน้าปก

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ
(สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27)








เสนอ
อาจารย์ พรทิพย์ เหลียวตระกูล







จัดทำโดย
4821408135 นางสาวกันยารตัน์ บัวละคร
โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ











รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 รหัส 3504804
หมู่เรียน D.5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา