วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 3 วิธีการฝึกประสบการณ์

บทที่ 3
วิธีการฝึกประสบการณ์

3.1 ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการที่ได้ศึกษาในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ 3 อาจารย์ ให้ไปหาสถานที่ที่จะออกไปฝึกงาน ซึ่งกำหนดให้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล แล้วส่งชื่อบริษัทที่นักศึกษาจะออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่อาจารย์ ระบุผู้ติดต่อ และให้นักศึกษาจัดทำเอกสารจดหมายฝึกงาน พร้อมทั้งแนบแผนที่ของบริษัทที่จะไปฝึกงาน จากนั้นอาจารย์ก็จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้นักศึกษานำไปส่งที่บริษัทที่นักศึกษาจะเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สุดท้ายอาจารย์จัดทำหนังสือส่งตัวนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อไปยื่นในวันที่นักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพวันแรก
3.1.1 ไปหาสถานที่ฝึกงานและสอบถามรายละเอียดของงานและเขารับนักศึกษาฝึกงานไหม
3.1.2 ไปติดต่อคุณ นิตยา รัตนพันธ์ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.1.3 มาเขียนสถานที่ที่จะไปฝึกงานกับอาจารย์ ญาณีรัตน์ หาญประเสริฐ
3.1.4 อาจารย์ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกงานส่งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.1.5 ทางหน่วยงานตอบรับให้นักศึกษาเข้าฝึกงาน
3.1.6 อาจารย์ทำหนังสือส่งตัวนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
3.1.7 เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เริ่มตั้งแต่ วัน จันทร์ ที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ถึง วัน ศุกร์ ที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

3.2 วิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 นั้น วันทำการ จันทร์-ศุกร์ เข้างาน 08.30-16.30 น. งานที่ทำในแต่ละวันของข้าพเจ้าคือ ถ่ายเอกสาร ทำหนังสือเวียน รับโทรศัพท์ ลงทะเบียนย้ายข้าราชการ จัดทำแฟ้มและจัดเก็บเอกสาร แฟกซ์เอกสาร ทำหนังสือส่งตัวและตอบรับข้าราชการมารายงานตัว เช็คชื่อในสมุดลงเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ถ่ายเอกสาร คือ ถ่ายติดบอนด์ หรือเก็บเข้าแฟ้ม หรือทำเป็นหนังสือเวียน
หนังสือเวียน คือ เป็นหนังสือที่มาจากกรมหรือภาค 3 หรือจากหน่วนงานอื่น เราก็มาเวียนให้ส่วนต่าง ๆ ในองค์การได้ทราบว่าเป็นเรื่องอะไร
แฟกซ์เอกสาร คือ แฟกซ์เอกสารให้หน่วยงานอื่นเมื่อเขาต้องการหรือโทรมาขอ
จัดทำแฟ้มและจัดเก็บเอกสาร คือ พิมพ์ชื่อแฟ้มและตั้งแฟ้มขึ้นมาใหม่ และนำเอกสารเข้าเก็บในแฟ้ม
ทำหนังสือส่งตัวและตอบรับข้าราชการมารายงานตัว คือ ทำหนังสือส่งตัวผู้ที่จะเดินทางไปทำงานในหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ที่นี้ตามคำสั่งกรมที่ออกมาว่าจะให้ไปปฏิบัติงานที่ไหน และตอบรับข้าราชการที่มารายงานตัวในหน่วยงานของเรา
เช็คชื่อในสมุดลงเวลา คือ เช็คชื่อว่าข้าราชการคนใดไม่มาปฏิบัติราชการหรือมาสาย
ลงทะเบียนย้ายข้าราชการ คือ จะมีคำสั่งย้ายข้าราชการ เราก็เอามาลงว่าเจ้าหน้าที่คนนี้ย้ายไปทำงานที่หน่วยงานไหนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน


3.3 การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการฝึกประสบการณ์ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาส อุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
3.1.1 จุดแข็ง (Strength : S) หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ในตัวหนังศึกษา ความรู้ ความสามารถที่แสดงออกมาโดดเด่นกว่าคนอื่น ซึ่งก็มีดังนี้
3.1.1.1 มีความตั้งใจทำงานในงานที่ตนได้รับมอบหมายให้ทำ
3.1.1.2 มีความอดทนต่องานที่ทำ
3.1.1.3 เชื่อฟังคำแนะนำจากผู้ฝึกประสบการณ์

3.1.2 จุดอ่อน (Weakness : W) หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน อาจจะเป็นปัญหาหรือข้อบกพร่อง ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำให้งานเกิดความล่าช้าได้ ซึ่งควรหาวิธีในการแก้จุดอ่อนนี้เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
3.1.2.1 ถ้าทำงานในส่วนที่ตนไม่ถนัดและไม่เข้าใจจะทำให้ทำงานช้า
3.1.2.2 จะทำงานได้ไม่ดีเมื่อถูกต่อว่าหรือตำหนิเรื่องงาน
3.1.2.3 ยังแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ายังไม่ค่อยได้






3.1.3 โอกาส (Opportunities : O) หมายถึง โอกาสที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ได้เรียนรู้ได้ร่วมงานกับ สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
3.1.3.1 ทำให้ได้รับความรู้จากการฝึกงานเพิ่มขึ้นโอกาสที่สอบเข้าทำงานที่กรมสรรพากร
3.1.3.2 รู้จักวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้
3.1.3.3 ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในงานที่ทำ

3.1.4 อุปสรรค (Threat :T) หมายถึง อุปสรรคที่มีผลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ทำ
ให้งานเกิดความล่าช้า
3.1.4.1 ความรู้และความเข้าใจในหน่วยงานยังมีไม่มาก
3.1.4.2 การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ป็นไปได้ยากเพราะไม่รู้จักชื่อความ
ล่าช่าในขั้นตอนการทำงานทำให้เราล่าช้าไปด้วยเมื่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น